พิพิธภัณฑ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

1. ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
    ที่มาของพิพิธภัณฑ์
         พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิริธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิดมนุษย์ ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์

 

เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิงซากไดโนเสาร์และ สัตว์ร่วมสมัยและนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวในรูปของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ มีความเป็นมาและรายละเอียดของการจัดการ ตั้งแต่ปี 2521 คณะสำรวจธรณีวิทยา โดยนายวราวุธ สุธีธร พบซากกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้โดย พระครูวิจิตรสหัสคุณ(หา สุภโร) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ปัจจุบันมีสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี (หา สุภโร) ปี พ.ศ. 2537  ปี 2538 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยสร้างอาคารหลุมขุดค้นเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากกระดูก รวมทั้งใช้บังร่มเงาแก่นักวิชาการในการขุดแต่งกระดูก ปี 2539 กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารวิจัยมีพื้นที่ใช้งาน 375 ตารางเมตร เพื่อเป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัยและเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ(หา สุภโร) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ปัจจุบันมีสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี (หา สุภโร) ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537 พบว่าภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่ง กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus sirindhornae) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก

 

2. พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตั้งอยู่เลขที่ 193 ถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง เป็นที่เก็บและจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันมีค่าตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีการจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ที่บ้านเชียงและเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้คนในยุคนั้น สิ่งที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์ เช่น ใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่เป็นงานพุทธศิลป์สมัยทวาราวดี และมีจำหลักภาพพุทธประวัติที่งดงามและสมบูรณ์มาก พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนั้นยังมีศิลปวัตถุสมัยขอมหรือลพบุรี ได้แก่ ทับหลังจากปราสาทหินในภาคอีสาน นอกเหนือจากโบราณวัตถุที่พบในท้องถิ่นแล้ว ที่นี่ยังจัดแสดงศิลปวัตถุสมัยอื่นไว้ด้วย เช่น สุโขทัย อยุธยา เป็นต้น
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นที่รวบรวม สงวนรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติในเขตภาคอีสานตอนบน ซึ่งเป็นที่ที่พบโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการและส่วนบริการ ดังนี้
ส่วนจัดแสดงที่ 1 : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงเรื่องราวในอดีตของจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของภูมิภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีสามารถสรุปได้ว่า มีชุมชนโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดเป็นจำนวนมาก สามารถผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และน่าจะมีการติดต่อกับชุมชนภายนอกที่อยู่ห่างไกลด้วย
ส่วนจัดแสดงที่ 2 : สมัยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทวารวดี ประชากรที่อาศัยในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำชีได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งอาจผ่านมาทางเมืองศรีเทพ ปรากฏการสร้างศาสนาสถานทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะใบเสามาหิน เป็นต้น
ส่วนจัดแสดงที่ 3 : วัฒนธรรมขอม จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเมื่อวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลได้แพร่กระจายเข้ามา ปรากฏจากศาสนาสถานแบบเขมร ซึ่งมักสร้างเป็นอาคารประกอบด้วยศิลาแลงและศิลาทราย ตกแต่งด้วยภาพสลักของเทพเจ้าต่างๆ
ส่วนจัดแสดงที่ 4 : วัฒนธรรมล้านช้าง จัดแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของวัฒนธรรมล้านช้างแถบลุ่มแม่น้ำโขงและวัฒนธรรมล้านนา ดังปรากฏหลักฐานการพบพระพุทธรูปที่มีลักษณะแบบวัฒนธรรมล้านช้าง
ส่วนจัดแสดงที่ 5 : สมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างเมืองขอนแก่น ซึ่งได้เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด”
ส่วนจัดแสดงที่ 6 : ห้องศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน จัดแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ความเชื่อท้องถิ่น ของประชากรหลากเชื้อชาติที่อาศัยร่วมกันในภูมิภาคอีสาน ปรากฏหลักฐานจากการแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ ที่อยู่ การดนตรีนาฏศิลป์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นเอกลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่

 

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
-ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท สมัยทวารวดี
-แผ่นเงินดุน ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ภาพบุคคล และเจดีย์บรรจุอยู่ในหม้อดินเผา สมัยทวารวดี
-เทวรูปพระอิศวรหินทราย สมัยลพบุรี
-ทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สมัยลพบุรี

3. พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิรินธร
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหนองคาย ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ภายในจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 12 กลุ่ม จำนวน 150 ชนิด ได้แก่ ปลาหายากและใกล้สูญพันธุ์ ปลาน้ำกร่อย สัตว์ทะเล ปลาเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ ปลาทะเลมีพิษ ปลาอาศัยแนวปะการัง ปลาทะเลทั่วไป ปลาลุ่มน้ำโขง ปลาสวยงาม ปลาถิ่นกำเนิดต่างประเทศ ปลาอวัยวะหายใจพิเศษ ปลาหนัง ปลาเกล็ด และยังมีการจำลองอุโมงค์ใต้น้ำที่จะมีนักประดาน้ำโชว์ดำน้ำให้อาหารปลาด้วย ซึ่งนอกจากปลาต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดแสดงเต่าชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์ เต่าบัว เต่าแก้มแดง เต่าหับ ตะพาบน้ำไทยและตะพาบน้ำไต้หวัน เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ที่จัดแสดงพันธุ์ปลาต่าง ๆ ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติ ครม. ครั้งที่ 44/2546 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในมิติของการบูรณาการ และตอบสนองในการเป็นเมืองท่องเที่ยว เริ่มการก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เริ่มทดลองเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552 ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย) ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีอุโมงปลายาวถึง 34 เมตร เป็นทางเดินลาดจากชั้น 2 ซึ่งแสดงปลาน้ำเค็ม ลงไปสู่ชั้นล่างซึ่งเป็นโซนแสดงปลาน้ำจืด และปลาโบราณพื้นบ้าน ปลาลุ่มน้ำโขง จัดแสดงไว้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงปลาบึกพันธุ์แท้น้ำหนักว่า 120 กก. นอกจากนี้ ยังมีปลาการ์ตูน ปลาฉลามทราย ฉลามหนูหรือปลาเทโพ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 9.00-16.00 น. (หยุดวันจันทร์ ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์) โดยจะมีโชว์ดำน้ำให้อาหารปลาในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 13.45 น. ซึ่งเป็นเวลาให้อาหารปลา ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 50 บาท เด็ก 30 บาท สอบถาม โทร. 0 4241 5600, 0 4241 5623 การแสดงโชว์พิเศษ ชมการแสดงโชว์ดำน้ำให้อาหารปลา วันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 13.45 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 น. และเวลา 13.45 น.พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในมิติของการบูรณาการ และตอบสนองในการเป็นเมืองท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหนองคายเป็นส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานมีอุโมงใต้น้ำ ยาวหลายสิบเมตรทุกวันจะมีการแสดงให้อาหารปลาใต้น้ำบรรยากาศ จำลองโลกใต้บาดาน

 

4. พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่า

 

พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม หรือจวนผู้ว่าหลังเก่านครพนม ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรวิจิตร บริเวณริมถนนเลียบโขง  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  เดิมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระยาอดุลยเดชสยามเมศวรภัคดีพิริยพาหะ (อุ้ย นาครทรรพ) เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี  ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก ก่อสร้างสร้างระหว่างปี พ.ศ.  2455-2457  ผู้สร้างเป็นชาวญวน ชั้นบนและล่างไม่มีเสา และไม่มีการตอกตะปูแม้แต่ดอกเดียว ใช้การเข้าเดือยไม้  เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นใน จังหวัดนครพนม ที่มีความสวยงามโดยเฉพาะลักษณะเป็นศิลปะโคโลเนียลแบบตะวันตก เพราะได้รับอิทธิพลในรูปแบบการก่อสร้าง จากฝรั่งเศสช่วงสมัยสงครามอินโดจีน  อาคารเป็นตึก 2 ชั้น ทรงจั่ว ก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องไทย ชั้นล่างปูกระเบื้องซีเมนต์ พื้นชั้นบนปูกระดานไม้เข้าลิ้น สร้างด้วยอิฐดินเผาสมัยโบราณ ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นประตูโค้งครึ่งวงกลมหน้าต่างโค้ง เหนือประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้น หรือแกะสลัก หลังคาไม่ลาดชันนัก อาคารมีเสาเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทั้งสิ้น แม้จะมีอายุที่ เก่าแก่มากแล้ว แต่ยังคงรักษาสภาพและความสวยงามต่างๆ ไว้ได้อย่างดีและยังคงความสวยงามจนถึงปัจจุบันอาคารหลังนี้คือ สถานที่สำคัญอีกแห่งที่ถือเป็นเกียรติประวัติของ จ.นครพนม เพราะเคยเป็นสถานที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดนครพนม ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทอดพระเนตรงาน ประเพณีไหลเรือไฟเป็นครั้งแรกและประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน  พ.ศ.  2518 
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน  และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดนครพนม ปรับปรุงให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาวนครพนม ในส่วนแรกที่ชั้นล่าง จัดแสดงจำลองโต๊ะทำงานท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยก่อนไว้ ให้นักท่องเที่ยวสามารถนั่งถ่ายรูปได้ เฟอร์นิเจอร์ที่เห็นทั้งหมดเป็นของเก่าในสมัยนั้น พื้นกระเบื้องเป็นของเก่าเช่นเดียวกัน แบบเดิม ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในโถงแรกเราจะเห็น มีรูปผู้ว่าฯสมัยต่างๆของนครพนม มีห้องแสดงภาพประวัติเมืองนครพนม วัฒนธรรม การแต่งกาย ในส่วนของชั้นสองนั้นคือห้องนอน และห้องโถง ห้องพระ

 

5. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
      ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ในปี พ.ศ.2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2532พิพิธภัณฑ์สถานสถานแห่งชาติอุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นที่จะให้เป็นศูนย์ศึกษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรจึงมุ่งเน้นเรื่องราวด้านต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และชาติพันธุ์วิทยา
      อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ
ลักษณะอาคาร เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนหลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคาที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้นอาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาโดยตลอด

 

 

ที่ตั้ง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี